“การจัดการทรัพยากรในพื้นที่ของตนเอง”

ตำบลลำสินธุ์เริ่มต้นจากส่งการนำตัวแทนของตำบลไปศึกษาดูงานในหลายพื้นที่ที่มีการดำเนินงานด้านพลังงานทดแทน ก่อนจะนำความรู้กลับมาประยุกต์ทำเทคโนโลยีของตัวเองขึ้น เป้าหมายและ เจตนาของศูนย์เรียนรู้เครือข่ายสินธุ์แพรทอง คือ ต้องการให้ครอบครัวต้นแบบทำเรื่องพลังงานทดแทน ส่งเสริมให้ครัวเรือนลดการใช้พลังงาน และหันมาใช้พลังงานทดแทน ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายภาค ครัวเรือน รวมถึงยังเป็นการจัดการทรัพยากรในพื้นที่ของตนเองได้อีกด้วย

การกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องพลังงานทดแทนขึ้นในชุมชน ศูนย์ฯ ใช้แนวทางการ ‘ทำให้เห็น’ เป็นสำคัญ คือ แกนนำต้องเป็นผู้รับผิดชอบทดลองใช้ และพัฒนาเทคโนโลยีพลังงาน ทดแทนที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ มีการหารือร่วมกันถึงวิธีคิด วิธีทำ กระบวนการต่าง ๆ ไปจนถึงการขยายผล โดยจะมีการติดตามงานด้วยการใช้วาระการประชุมเป็นตัวดำเนินการทุก ๆ เรื่องที่ผ่านที่ประชุมจะถูกบันทึก เป็นข้อตกลง และจะมีกองเลขาฯ ประจำศูนย์ฯ เป็นผู้คอยตั้งประเด็น คำถามเพื่อติดตามงาน

“การสร้างจิตสำนึกให้ชุมชนด้วยการทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง จึงเป็นแนงทางที่แกนนำชุมชนเห็นดีร่วมกันซึ่งไม่สามารถเริ่มที่คนอื่นคนใดได้เลย นอกจากตัวแกนนำเอง”

ด้วยเหตุนี้แกนนำซึ่งถูกมอบหมายให้รับผิดชอบเทคโนโลยีแต่ละชนิดจึงต้องเต็มที่กับสิ่งที่ทำ ปัจจุบันในตำบลมีเทคโนโลยีพลังงานทดแทนอยู่ด้วยกัน 4 รูปแบบ คือ พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวภาพ และ พลังงานชีวมวล

1. พลังงานน้ำ

มี 1 จุดการเรียนรู้ ประจำอยู่ที่ศูนย์การเรียนรู้

“เรื่องน้ำถ้าจัดการได้จะประหยัดต้นทุนการทำเกษตรได้พอสมควร เพราะลำน้ำไหลผ่านทุกหมู่บ้านแต่ไม่สามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ได้ด้วยวิธี อื่นเลยนอกจากไฟฟ้า ซึ่งเราก็เรียนรู้กันมา 2-3 ปีแล้ว เรียนรู้ไป ปรับปรุงไป” อุทัย บุญดำ

จุดที่ 4 เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร

2. พลังงานแสงอาทิตย์

มี 5 จุดการเรียนรู้ ประจำอยู่ที่ศูนย์การเรียนรู้

จุดที่ 5 บ้านพลังงานแสงอาทิตย์
จุดที่ 7 ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์
จุดที่ 27 โซล่าเซลล์ลอยน้ำเพื่อการบริหารจัดการน้ำ
จุดที่ 6 ไฟฟ้านำทางจากพลังงานแสงอาทิตย์
จุดที่ 10 โซล่าเซลล์แบบเชื่อมต่อสายตรง

3. พลังงานชีวภาพ

มี 5 จุดการเรียนรู้

“สิ่งที่เราไม่เห็นคุณค่าสามารถนำมาเป็นพลังงานได้ เศษอาหารบางครั้ง เรามองว่ามันเป็นเรื่องเล็ก ไม่น่าลงทุนทำ แต่มันเป็นพลังงานที่ยั่งยืน เพราะนานๆ ไปเราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย เหมือนก๊าซถังพอหมด เราก็ต้องซื้อใหม่ แต่นี่แค่เราเติมเศษอาหาร ถึงลืมใส่ก็เริ่มต้นใหม่ได้ มันเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน” ธำรง บุญรัตน์

จุดที่ 8 บ่อหมักก๊าซชีวภาพ แบบถัง 500 ลิตร โดย อุษาวดี บุญดำ
จุดที่ 35 บ่อหมักก๊าซชีวภาพ แบบถัง 500 ลิตร โดย โรงเรียนบ้านโตน
จุดที่ 25 บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบวงซีเมนต์ โดย พยอม ไชยณรงค์
จุดที่ 22 บ่อหมักก๊าซชีวภาพ แบบถัง 500 ลิตร โดย ธำรงค์ บุญรัตน์
จุดที่ 20 บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบวงซีเมนต์ โดย จวบ มุสิกวงศ์

4. พลังงานชีวมวล

มี 3 จุดการเรียนรู้

“ต้นทุนเตาเผาที่ทำเริ่มทำมา ปัจจุบันคืนทุนแล้ว ทุนตัวเองไม่เท่าไหร่ แต่คืนทุนให้สังคมได้เยอะ ให้คนที่มาศึกษาดูงานไปเยอะแล้ว” ไข่ นวลขลิบ

จุดที่ 9 เตาชีวมวล (เตาเทวดา เตาเผาข้าวหลาม เตาถังแอร์) โดย ธำรงค์ บุญรัตน์
จุดที่ 33 เตาเผาถ่าน 200 ลิตร แบบนอน โดย ไข่ นวลขลิบ
จุดที่ 39 เตาเผาถ่านแบบประยุกต์ โดย เจริญ ภัทรธิติพันธ์
จุดที่ 39 เตาเผาถ่านแบบโดม โดย ทวี ภัทรธิติพันธ์
แผนผังการจัดการเรียนรู้ 5 ห้องเรียน 40 จุดการเรียนรู้